วันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

คุณสมบัติที่ดี.....ของน้ำยาทำความสะอาด

น้ำยาทำความสะอาดทั่วไปที่ดีต้องมีคุณสมบัติ 4 ประการ
....อย่างแรก คือ ต้องมีความสามารถในการทำให้คราบที่มีธรรมชาติเป็นกรดให้กลายเป็นกลาง
....ประการที่สอง ในการทำความสะอาด คราบน้ำมัน ไขมัน ออกจากพื้นผิวนั้นสามารถที่จะสลาย คราบให้เป็นโมเลกุลเล็กๆ และกระจายตัวในน้ำได้
....ประการที่สาม ต้องสามารถ สลายพันธะ หรือ แตกตัว คราบบางชนิด เช่น เขม่าคาร์บอน ฝุ่นดำ ดินเหนียว ให้เป็นอนุภาคเล็กๆ
....และ ประการที่สี่ เมื่อ ทำสามประการแรกสำเร็จแล้ว มันต้องมีความสามารถในการ ป้องการการย้อนคืนของคราบกลับไปสู่พื้นผิว ในขณะล้างฟองออกด้วยน้ำ

น้ำยาทำความสะอาดโดยทั่วไป อาศัยองค์ประกอบสองส่วน ในการทำหน้าที่ นั้นคือ สารลดแรงตึงผิว (Surfactants) และ สารเสริมพลัง (Builders)
สารลดแรงตึงผิวสามารถเป็นได้ ทั้ง ของเหลว หรือเป็นผง
สารเสริมพลัง  นั้น ส่วนมากเป็น สารประกอบอนินทรีย์  (Inorganic) โดยทั่วไป ในรูป ผงละเอียด เช่น พวก ฟอสเฟต ซิลิเกต คาร์บอเนต หรือ โอโธฟอสเฟต

การนำสองสิ่งนี้ ส่วนมาผสมกัน คือ ขั้นตอนพื้นฐานการทำน้ำยาทำความสะอาด
ในการทำสูตรใดๆ นั้น เราจะให้สัดส่วนความสำคัญของหลักทั้งสี่ เท่าใดนั้น ขึ้นกับวัตถุประสงค์ในการใช้งานของสูตรนั้นๆ อีกทั้งต้องดูถึง ชนิดของพื้นผิวที่เราจะทำความสะอาดด้วย เพื่อป้องกัน ความเสียหายที่จะเกิดกับพื้นผิวนั้น รวมทั้ง มี องค์ประกอบอื่น อีก สามประการ ที่มีผลต่อประสิทธิภาพ ของน้ำยาทำความสะอาด ซึ่งคือ การปั่น  เวลา และ ความร้อน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อ เราแช่ผ้าไว้ ในน้ำผงซักฟอก ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ประสิทธิภาพ การทำความสะอาดจะได้ สมมุติว่าระดับหนึ่ง ถ้าเราแช่ผ้านานขึ้น ความสะอาดของผ้าจะดีขึ้น และถ้า เราปั่นผ้า และให้ความร้อน ไปด้วย ก็จะเพิ่มประสิทธิภาพขึ้นไปอีก  นั้นคือ การใช้ ทั้ง น้ำยา การปั่น เวลา และ ความร้อน จะให้ประสิทธิภาพการทำงานสูงสุด ถ้าเราตัดอันใดอันหนึ่งไป ก็ต้องไปชดเชยในปัจจัยอื่นที่เหลือ

สารลดแรงตึงผิว ออกเป็น สี่กลุ่ม คือ
1.พวก ประจุลบ (anionic surfactant)
2.พวกไร้ประจุ (non ionic surfactant)
3.พวกประจุบวก (cat ionic surfactant) และ
4.พวกสองประจุ (amphoteric surfactant)

สารลดแรงตึงผิวทำหน้าที่ ดังชื่อคือ สามารถลดแรงตึงผิวของของเหลวได้ เมื่อเราเติมสารลดแรงตึงผิวลงไปในน้ำ จะทำให้แรงตึงผิวของน้ำลดลง และทำให้สารละลายของสารลดแรงตึงผิวนี้ มีความสามารถที่จะแทรกซึมไปในคราบสกปรก และพื้นผิวได้ดีขึ้น
   นอกจากนั้น สารลดแรงตึงผิวยังสามารถ ลดแรงตึงผิวของของเหลวสองชนิดที่แตกต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น กรณี ของน้ำกับน้ำมัน โดยปกติ น้ำมันจะลอยบนผิวน้ำ แต่เมื่อเติมสารลดแรงตึงผิวลงไป จะทำให้แรงตึงผิวของผิวสัมผัสของน้ำกับน้ำมัน ลดลง ทำให้น้ำกับน้ำมัน "ผสมรวม" กันได้ และจะเกิดเป็น อีมันชั่น (emulsion) หรือ ของเหลวเนื้อเดียวขาวขุ่น

สารลดแรงตึงผิวประจุลบ  เป็นสารประเภทที่ให้ฟองมาก ใช้กันมากในสูตร ทำแชมพูสระผม แชมพูล้างรถ น้ำยาล้างจาน  หนึ่งในตัวที่ใช้กันอย่างมากคือ โซเดียมลอรีลซันเฟต (Sodium Laurylsulfate, SLS) เนื่องจาก สารลดแรงตึงผิวชนิดนี้ มีประจุลบ มันจะถูกทำให้ ด้อยประสิทธิภาพโดย อิออนบวกที่มาจากน้ำกระด้าง ดังนั้น การทำสูตรที่ใช้ สารลดแรงตึงผิวประจุลบ ควรมี ตัวจับประจุบวก (chelating agent) ที่มากับน้ำ สารลดแรงตึงผิวประจุลบอื่นๆ ก็มี อัลกอฮอลซันเฟต (Alcohol Sulfate) อัลกอฮอลอีเทอร์ซันเฟต (Alcohol Ether Sulfate) สบู่ หรือ พวก เบนซีนซันโฟเนต (Benzend Sulfonate)

สารเสริมพลัง (Builders)
สารเสริมพลัง หรือ builder คือสารที่เราใส่เข้าไปในสูตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ของสารลดแรงตึงผิวและน้ำ  มันทำอย่างนั้นได้ด้วยขบวนการ ต่อไปนี้

ประการแรก builder ทำหน้าที่ ทำให้น้ำอ่อนลงหรือมีความกระด้างน้อยลง โดยการไปจับ อิออน บวกพวกแคลเซียม (Ca2+) หรือ แมกนีเซียม (Mg2+) ในน้ำกระด้าง ไม่ให้ไปรบกวนการทำงานของสารลดแรงตึงผิว โดยเฉพาะสารลดแรงตึงผิวประจุลบ โดย builder นี้ จะมีโมเลกุลประจุลบ ไปล้อมรอบอิออนบวกไว้ ไม่ให้ทำงาน  หรือบางประเภทจะไปจับกับอิออนบวก แล้วทำให้เกิด เกลือแล้วตกตะกอนลงมา อย่างไรก็ดี builder ที่ทำให้เกิดการตกตะกอนจะมีผลทำให้เกิดคราบขาวตกค้างบนพื้นผิว จึงไม่เป็นที่นิยมนัก โดยมากจะนิยมใช้ประเภทที่ไปล้อมรอบอิออนบวกมากกว่า สารกลุ่มนี้เราเรียกว่า ซีเควสเทอริ่ง เอเจ้น (sequestering agent)

ประการที่สอง builder มีส่วนในการรักษาความเป็นด่างให้กับสารละลายในระหว่างการทำความสะอาด การทำงานของสารลดแรงตึงจะเกิดได้ดีในช่วง pH ที่เป็นด่าง เป็นที่ทราบกันว่า คราบสกปรกจะมีความเป็นกรดและทำให้สารทำความสะอาดมี ค่า pH ต่ำลงมา การมี builder นั้น มันจะไปรักษา pH อยู่ในช่วงเป็นด่างอยู่ โดยตัวมันจะไปทำให้คราบสกปรกมีความเป็นกลาง

ประการที่สาม builder จะไปทำให้ขนาดของคราบสกปรกแตกออกเป็นส่วนย่อยๆ และกระจายตัวอยู่ในน้ำทำความสะอาด

ประการที่สี่ builder มีส่วนป้องกันการย้อนคืนกลับของคราบสู่พื้นผิวโดยการเพิ่มความเป็นประจุลบให้กับอนุภาคของคราบ ทำให้อนุภาคเหล่านั้น ผลักซึ่งกันและกัน และไม่สามารถรวมกันเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้นได้ และไม่สามารถไปจับติดกับพื้นผิวที่เพิ้งทำความสะอาดใหม่ๆ

ประการที่ห้า builder ทำให้อนุภาคของคราบ แขวนลอยอยู่ในสารละลาย และทำให้ง่ายต่อการล้างออกจากพื้นผิว

โดยทั่วไป บิวเดอร์ หรือสารเสริมพลัง จะผลิตออกมาในลักษณะผงแป้ง มีทั้งผงแบบละเอียด ผงแบบหยาบ หรือเป็นเม็ดๆ แต่ละรูปแบบก็จะมีความหน่าแน่น (density) แต่ต่างกันไป เช่น เอสทีพีพีแบบ ความหนาแน่นต่ำ (low density) หรือ แบบ ความหนาแน่นสูง (high density)

เราจะใช้เกรดที่ต่าง กันของ เอสทีพีพีในการทำสูตรที่ต่างกัน เช่น เช่นในการทำน้ำยาแบบน้ำ จะใช้เอสทีพีพี แบบเกรดหนาแน่นต่ำ เนื่องจากละลายน้ำได้รวดเร็วกว่า ในขณะที่แบบหนาแน่นสูงจะใช้ในการทำผงซักฟอก

บางครั้งสารเสริมพลัง ก็มีทั้งในเกรดที่เป็นน้ำ และ เป็นผง อีดีทีเอ มีในรูปของ สารละลาย 60 % เช่นกันกับ TKPP ส่วน โซดาไฟ มีทั้งแบบ 50 % 30 % และ 18 % โซเดียมซิลิเกต ก็มีในรูปน้ำเหมือนกัน

 ด่าง (Bases)
ด่างให้ pH มากกว่า 7 เมื่อรวมกับน้ำจะให้ ไฮดอกซิล อิออน (OH-) เมื่อรวมกับกรดจะให้เกลือและน้ำ ด่างที่รู้จักกันดี คือโซดาไฟ (sodium hydroxide) โซดาโปแตช (potassium hydroxide) แอมโมเนีย หรือ ไตรเอทานอลามีน (Triethanolamine) เราใช้ด่างกันในสูตรเพื่อรักษาระดับ pH (buffer) โดยธรรมชาติ คราบสกปรกมักมีฤทธิ์เป็นกรด เราจึงใช้ด่างรักษาระดับ pH ให้เป็นด่าง สม่ำเสมอ เพื่อให้สารลดแรงตึงผิวทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพทีสุด ด่างยังใช้ในการทำให้สารลดรงตึงผิวที่เป็นกรด เปลี่ยนเป็นกลาง

ตัวทำละลาย (Solvents)
นอกจากสารลดแรงตึงผิว และ สารเสริมพลังแล้ว องค์ประกอบในสูตรน้ำยาทำความสะอาดที่มักจะมีร่วมด้วยคือ ตัวทำละลาย หรือ โซลเว้น (Solvent) โดยภาพรวมแล้ว

...กลุ่มโซลเว้นที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือพวก ไกลค้อลอีเท้อร์ (glycol ethers) 
ไกลค้อลอีเท้อร์  เป็นของเหลวใสไม่มีสี มีกลิ่นสารเคมีอ่อนๆ และมีอัตราการระเหย ไล่ไปตั้งแต่ต่ำถึงปานกลาง โดยทั่วไปมันละลายได้ทั้งในน้ำ และน้ำมัน
   เราใช้โซลเว้นในสูตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการละลายคราบน้ำมัน น้ำมันเครื่อง จาระบี ยางมะตอย ไกลค้อลอีเท้อร์สลายตัวได้ในธรรมชาติ (biodegradable)

ไกลค้อลอีเทอร์ ผลิตมาจาก เอทิลีนออกไซด์ (ethylene oxide) หรือ ไม่ก็ โพพิลลีนออกไซด์  (propylene oxide)
 กลุ่มที่มาจากโพพิลลีนออกไซด์ หรือ ซีรีย์ P ได้รับความนิยมมากกว่า กลุ่มที่มาจาก เอทิลลีนออกไซด์ หรือ ซีรีย์ E เนื่องจากปัจจัยเรื่องความปลอดภัยต่อสุขภาพ

 แม้ว่า กลุ่ม E ถูกใช้กันมาต่อเนื่องหลายปี แต่เร็วๆนี้ มีการพูดถึงความเสี่ยงของมันในการทำให้ เกิดความผิดปกติต่อไข่อ่อน หรือ เซลสิบพันธ์ จึงมีการใช้ ซีรีย์ P แทน ซีรีย์  E เนื่องจากพบว่า กลุ่มโซลเว้น ซีรีย์ P ไม่มีหลักฐาน หรือข้อมูลที่แสดงว่ามันทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความผิดปกติดังกล่าว และยังให้ผลประสิทธิภาพการทำความสะอาดที่ใกล้เคียง หรือดีกว่ากลุ่มซีรีย์ E อีกด้วย กลุ่มโซลเว้นซีรีย์ P ที่นิยมใช้กันในสูตรก็เช่น propylene glycol t-butyl ether โดยมีชื่อทางการค้าว่า ACROSOLVE PTBTMโซลเว้นชนิดนี้ เมื่อเติมไปในสูตรน้ำยาทำความสะอาด มันจะเพิ่มประสิทธิภาพในการสลายคราบน้ำมัน ไขมัน จารบี หรือพวกยางมะตอย อีกตัวในกลุ่ม P ที่นิยมใช้กันคือ BUTYL PROPASOLTMหรือ propylene glycol monobutyl ether และ DPMTM หรือ Dipropylene glycol methyl ether โซลเว้นเหล่านี้ถูกใช้กันมากในน้ำยาทำความสะอาดต่างๆ

   นอกจากนี้ โซลเว้นกลุ่มอื่นๆ ก็มีใช้กัน เช่น mineral spirits, kerosene, aromatic hydrocarbon, แอลกอฮอล์, methylene chloride, perchloroethylene และ พวก naphtha อย่างไรก็ดี โซลเว้นเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อพิษ ที่ทำอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้นในปัจจุบันสูตรใหม่ๆ มีแนวโน้มที่จะหลีกเลี่ยงที่จะใช้สารเหล่านี้ และหันมาใช้กลุ่มที่ไม่เป็นพิษ และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม หนึ่งในโซลเว้นที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่ D' Limonene ซึ่งเป็นสารที่สกัดจากน้ำมันจากเปลือกหรือผิวผลไม้ประเภทส้ม (คนละตัวกับ citric acid นะครับ)  มันมีคุณสมบัติการทำละลายสูง ใช้กันมากใน น้ำยาขจัดคราบน้ำมัน (degreaser) น้ำยาดับกลิ่น สบู่เหลวล้างมือ และน้ำยาทำความสะอาดเอนกประสงค์ D'Limonene  ไม่เป็นพิษ สลายตัวได้ตามธรรมชาติ และให้กลิ่นสดชื่นคล้ายกลิ่นผิวส้ม

น้ำหอม (Fragrances)
    น้ำหอม ทำให้น้ำยาน่าใช้ สร้างความพึงพอใจต่อผู้ใช้ในระหว่างการใช้งาน น้ำยาที่กลิ่นหอมสดชื่นจะมีส่วนทำให้ความพึงพอใจโดยรวมต่อน้ำยาดีขึ้น น้ำหอมมีกลิ่นที่ใช้กับน้ำยาทำความสะอาด ให้เลือกมากมาย กลิ่นที่นิยมทั้วๆ ไป เช่น กลิ่นมะนาว กลิ่นน้ำมันสน กลิ่นมิ้น กลิ่นผลไม้ กลิ่นลาเวนเดอร์  กลิ่นสมุนไพร ไปจนถึงกลิ่นที่ซับซ้อนมากขึ้น
ประโยชน์ของน้ำหอมนอกจากให้กลิ่นหอม แล้วยังช่วยกลบกลิ่นเคมี ที่เกิดจากสารลดแรงตึงผิว หรือโซลเว้นบางชนิด หรือกลิ่นกรด ปกติน้ำหอมในสูตรจะใช้ประมาณ 0.5-1 % แต่ถ้าต้องการใช้เพิ่มกลบกลิ่นกรดแรงๆ อาจต้องใช้ถึง 3 %
สี  (Dyes)
   เราใส่สีลงไปในน้ำยาเล็กน้อย เพื่อให้ดูดีขึ้น และบางครั้งสร้างความเฉพาะตัวให้กลับน้ำยาแต่ละชนิด สีทำให้ผู้ใช้แยกแยะได้ว่าน้ำยาต่างชนิดกัน และต่างจากน้ำเปล่า สีส่วนมากมาเป็นผงสี ที่ละลายน้ำได้ สีบางชนิดไม่ละลายน้ำแต่ละลายในน้ำมัน การใช้ต้องขึ้นกับสูตรที่เราทำ และควรปรึกษาผู้ผลิตสีในการเลือกสีที่เหมาะกับสูตรของเรา
สียังสื่อไปถึงชนิดการใช้งานของน้ำยาต่างๆ เช่น สีฟ้า นิยมใช้กับน้ำยาเช็ดกระจก สีเหลืองน้ำยาจาน สีเขียวน้ำทำความสะอาดเอนกประสงค์  สีม่วงอาจเหมาะกับน้ำยาฆ่าเชื้อโรค สีชมพูอาจไปดีกับน้ำยาปรับผ้านุ่มเป็นต้น
สารกันเสีย  (Preservatives)
   สารกันเสียยืดอายุการใช้งานให้น้ำยาอยู่ได้นานขึ้น ถ้าไม่มีสารกันเสียน้ำยาจะถูกแบคทีเรียทำลาย ทำให้อาจให้ผลเสียต่างๆ เช่นมีกลิ่นเหม็๋น แยกชั้น หรือ ประสิทธิภาพลดลง
สำหรับน้ำยาทำความสะอาดในแวดวงอุตสาหกรรม สารกันเสียที่นิยมใช้มากที่สุดก็คือ ฟอร์มาลิน ซึ่งเป็นสารละลาย 37 % ของฟอรมาลดีไฮด์ในน้ำ โดยทั่วไปเราใช้ในสูตรเพียง 0.1-0.2 % นอกจากนี้สารกันเสียตัวอื่นที่ไม่มีฟอรมาลดีไฮด์  ก็เช่น DOWACIL 75TM จาก บริษัท  Dow Chemical DOWACIL 75TM เป็นสารกันเสียแบบผง ใช้ใสสูตรประมาณ  0.1 -0.2 %  นอกจากนี้สารกันเสียตัวอื่นๆ ที่นิยมใช้กันในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับคน เช่น สบู่เหลว แชมพู โลชั่น ก็เป็นพวก mehyl paraben, ethyl paraben  ส่วนมากในสูตรจะใช้ทั้งสองตัวนี้ร่วมกัน เพื่อประโยชน์สูงสุด

น้ำยาซักผ้าสูตรขจัดคราบเกาะแน่น

.....ส่วนผสม( ได้15 กิโลกรัม)

1. หัวแชมพู 70   1 กิโลกรัม (เป็นตัวทำความสะอาดและทำให้เกิดฟอง)ราคากิโลกรัมละ 80-95 บาทโดยประมาณ

2. ผงข้น (เกลือ) 150 กรัม (ละลายหัวแชมพู 70 เป็นตัวทำให้ข้น)

3. ขจัดคราบ 60%   1.5 กิโลกรัม (ขจัดคราบมัน คราบสกปรก)

4. ลอลาไมย์เอส 500 กรัม  (ขจัดคราบเกาะแน่น)

5. CBS-X   5 กรัม (ทำให้ผ้าสดใส)

6. เค 30 10 กรัม (ทำให้ผ้าเป็นประกาย)

7. เอ็มอี 100 กรัม

8. น้ำหอม 2 ออนซ์

9. กันบูด (โบลิด๊อกL) 1 ออนซ์

10. น้ำสะอาด 12 กิโลกรัม

.....วิธีทำ


1. เอา CBS-X กับเค30 ผสมกันเติมน้ำคนให้ละลายพักไว้

2. นำหัวแชมพู 70 ผสมผงข้นกวนให้เข้ากัน เติมขจัดคราบกวนให้เข้ากัน เติมเอ็มอี เติมส่วนผสมข้อ 1 เติมน้ำช้าๆ เติมไปกวนไปจนหมดน้ำ เติมน้ำหอม และกันบูดคนให้เข้ากัน

....แหล่งซื้อสารเคมี 

1. บริษัท วันรัต (หน่ำเซียน) จำกัด จำหน่ายปลีกเคมีภัณฑ์ ที่อยู่ 19 ซอยสุขุมวิท 70 ถนนสุขุมวิท แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 744-8257-60

2. บริษัท วันรัต (หน่ำเซียน) จำกัด จำหน่ายปลีกเคมีภัณฑ์ สาขาจักรวรรดิ ที่อยู่ 233-5 แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 224-9961-3

3. บริษัท ฮงฮวด จำกัด ที่อยู่ 41-45 ถนนจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 225-0127

4. บริษัท ฮงฮวด จำกัด (สาขาหนองแขม) ที่อยู่ 185-186 หมู่บ้านพรทวีวัฒน์ หมู่ 12 ถนนเพชรเกษม 73/2 แขวงหนองค้างพลู เขตหนองแขม กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 421-9536-7, (02) 421-9519-20

5. บริษัท ฮงฮวด จำกัด (สาขารังสิต) ที่อยู่ 300/103-104 หมู่ 13 ตำบลคูคต อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โทรศัพท์ (02) 536-4661-4

6. บริษัท ฮงฮวด จำกัด (สาขาจตุจักร) ที่อยู่ ชั้น 2 S 39 อาคาร เจ.เจ.มอลล์ ถนนกำแพงเพชร แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 265-9578 

7. บริษัท ฮงฮวด จำกัด (สาขาสินสาธร) ที่อยู่ 77/82, 77/86 อาคารสินสาธรทาวเวอร์ ชั้น 21 ถนนกรุงธนบุรี แขวงคลองต้นไทร เขตคลองสาน กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 440-0770, (02) 440-0525-32 

8. เว็บไซต์ www.honghuat.com

9. หจก.แล็ป วัลเล่ย์ ขายเคมีภัณฑ์ ที่อยู่ 1111/32 โครงการเดอะฮาบิแททศรีวรา (ลาดพร้าว 94) ถนนศรีวรา วังทองหลาง กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 559-3807-8 โทรสาร (02) 559-2663 

10. บริษัท ทาริโก้ จำกัด นำเข้าและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ใช้ในอุตสาหกรรมทำความสะอาด โทรศัพท์ (02) 738-0948, (081) 918-4391 

11. หจก.มาเจสติค โปรดักส์ จำหน่าย เคมีภัณฑ์ สารเคมี โทรศัพท์ (02) 833-1682, (081) 563-4014

12. เว็บไซต์ www.mgpchem.com 

13. ร้าน ปางแก้วสมุนไพร จำหน่ายสมุนไพร และเคมีภัณฑ์ ที่อยู่ 67/24 ซอยนวมินทร์ 46 ถนนนวมินทร์ แขวงคลองกุ่ม เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 375-8513 โทรสาร (02) 733-6758

14. หจก. สหไตรพัฒน์ ผู้ผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์ทำความสะอาด ที่อยู่ 1261 ถนนบรรทัดทอง แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 428-5384 

15. Cleanroom & Safety Products Ltd.Part ที่อยู่ 72/50 หมู่ 3 ตำบลบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี โทรศัพท์ (02) 957-9094, (086) 373-7112, (083) 017-7426

16. เว็บไซต์ www.stmthai.com

17. บริษัท เอส เอส ซี วี คอร์ปอเรชั่น จำกัด ที่อยู่ 58/8 หมู่ 13 ถนนบางนา-ตราด ก.ม.10 ตำบลบางพลีใหญ่ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ (02) 751-1663, (086) 313-1574

18. บริษัท เอเซีย แปซิฟิค ปิโตรเคมิคอล จำกัด โทรศัพท์ (02) 937-5615-20 

19. เซฟท์เคมี และบรรจุภัณฑ์ สาขาชัยชนะ ที่อยู่ 838/4 ถนนชัยชนะ ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ (038) 791-937, 038-271-838 โทรสาร (038) 791-938 สาขาสุขุมวิท ที่อยู่ 688/30-31 ถนนสุขุมวิท ตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี โทรศัพท์ (038) 791-087 เว็บไซต์ www.septchemicals.com

20. บริษัท แสงรุ่งกรุ๊ป จำกัด จำหน่ายขวดพลาสติคใช้บรรจุ ที่อยู่ 7/37 หมู่ 1 ถนนบางขุนเทียน แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 892-0353-7, (02) 892-0050-2, (02) 451-5895-6 โทรสาร (02) 451-5676, (02) 451-5744 www.srgplastic.com

21. ร้านโอ้วไทฮง ขายบรรจุภัณฑ์ อยู่แถวสะพานขาว โทรศัพท์ (02) 281-0054, (02) 627-0788 

22. ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจปฉัฏ จำหน่ายขวดพลาสติคสำเร็จรูป โทรศัพท์ (02) 373-7957, (02) 729-3919 

23. ห้างหุ้นส่วนจำกัด นำง่ายฮง ผู้ผลิตและจำหน่ายเครื่องใช้พลาสติคในครัวเรือน และโรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงรับสั่งทำตามออร์เดอร์ โทรศัพท์ (02) 438-9988

24. บริษัท ไคเฮง จำกัด (หน้าร้าน) จำหน่ายขวดพลาสติค บรรจุภัณฑ์พลาสติค ตลับครีมต่างๆ โทรศัพท์ (02) 245-0682, (02) 246-7332 (โรงงาน) โทรศัพท์ (02) 641-6151, (02) 245-4186 

25. บริษัท เรืองรัตน์พลาสติก จำกัด จำหน่ายขวดพลาสติค ที่อยู่ 14/55-56 หมู่บ้านเปรมฤทัย 20 ซอยประวิทย์และเพื่อน แขวงหนองบอน เขตประเวศ กรุงเทพฯ โทรศัพท์ (02) 398-3846-7 โทรสาร (02) 398-3846-7


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สารที่ทำให้ผ้าดูกระจ่างใส....

  CBS-X ชื่อทางเคมี Disulfonic Distyrylbiphenyl compound ลักษณะภายนอก ผงสีขาวออกเหลือง CBSX ใช้เป็นส่วนผสมในผงซักฟอก น้ำยาซักผ้า ...